วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โจทย์การเคลื่อนที่ของบอลลูน

บอลลูนลูกหนึ่งกำลังลอยขึ้นด้วยความเร็ว 10 m/s ขณะที่อยู่สูงจากพื้น 120 m จงหาเวลาที่ถุงทรายตกถึงพื้น


การเคลื่อนที่ของบอลลูน

วัตถุที่ตกจากบอลลูนมีการเคลื่อนที่ 3 กรณี
1. บอลลูนลอยขึ้นด้วยความเร็ว V ถุงทรายที่ตกจากบอลลูนจะมีความเร็ว V เท่ากับบอลลูนและมีทิศขึ้นเหมือนบอลลูน และเมื่อถุงทรายหลุดจากบอลลูนจะเคลื่อนที่แบบตกอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ความเร่ง = - g
2. บอลลูนลอยอยู่นิ่ง ๆ ถุงทรายตกลงมา

3.บอลลูนลอยลงด้วยความเร็ว u

การคำนวณการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

ขว้างหินจากชั้น 4 ของตึกขึ้นไปในแนวดิ่ง ด้วยความเร็ว 10 m/s ณ จุดที่มีความสูง 14 เมตร จงหาว่าก้อนหินใช้เวลาอยู่ในอากาศนานเท่าใดจึง ตกถึงพื้น และความเร็วขณะถึงพื้นเป็นเท่าใด


การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

การเคลื่อนที่แนวดิ่ง (Motion under gravity)
                เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกเพียงแรงเดียว การเคลื่อนที่ลักษณะนี้จะไม่คิดแรงต้านของอากาศ

สมการการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

                เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง คือ การการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่ง ดังนั้น สมการในการคำนวณจึงเหมือนกับสมการการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงแต่เปลี่ยนค่า a เป็นg เท่านั้น  อ่านต่อ

ตัวอย่างโจทย์การแตกเวกเตอร์


การบวกเวกเตอร์

การบวกเวกเตอร์โดยวิธีการเขียนรูป ทำได้โดยเขียนเวกเตอร์ที่เป็นตัวตั้ง จากนั้นเอาหางของเวกเตอร์ที่เป็นผลบวกหรือผลต่าง มาต่อกับหัวของเวกเตอร์ตัวตั้ง โดยเขียนให้ถูกต้องทั้งขนาดและทิศทาง เวกเตอร์ลัพธ์หาได้โดยการวัดระยะทาง จากหางเวกเตอร์แรกไปยังหัวเวกเตอร์สุดท้าย อ่านต่อ

ปริมาณสเกล่าร์

ปริมาณสเกล่าร์ คือปริมาณที่บอกแต่ขนาดอย่างเดียวก็ได้ความหมายสมบูรณ์ ไม่ต้องบอกทิศทาง เช่น ระยะทาง มวล เวลา ปริมาตร ความหนาแน่น งาน พลังงาน ฯลฯ

การหาผลลัพธ์ของปริมาณสเกล่าร์ ก็อาศัยหลังการทางพีชคณิต คือ วิธีการ บวก ลบ คูณ หาร อ่านต่อ